หน้าแรก > เกี่ยวกับวารสาร
เกี่ยวกับวารสาร
วารสารพุทธศาสตร์
วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
วารสารพุทธศาสตร์ มจร.อุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้คณาจารย์บุคลากรเจ้าหน้าที่ นิสิต และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้เสนอและเผยแพร่บทความบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ ที่ได้มาตรฐานสู่สาธารณชน รวมทั้งยกระดับผลงานทางวิชาการให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายถอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เปิดรับบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ ด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิต การศึกษาและการพัฒนาชุมชน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาเชิงพุทธบูรณาการ ปีละ 3 ฉบับ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.บทความหรืองานวิจัยต้องไมเ่คยตีพิมพ์ในวารสารใดวารสารหนึ่งมาก่อน (Original Article)
2. บทความที่ผู้เขียนเสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอชื่อเพื่อ พิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ
3. บทความที่ตีพิมพ์ต้องมีคุณภาพ โดยผ่านการพิจารณาตรวจสอบ คัดเลือก กลั่นกรอง และประเมินคุณภาพจากกองบรรณาธิการวารสารและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ทั้งภายในและภายนอกไม่น้อยกว่า 3 ท่าน
4. มีคณะกรรมการดําเนินงานในรูปแบบของกองบรรณาธิการ มีการตรวจสอบความ ถูกต้องของเนื้อหาและรูปแบบการพิมพ์วารสารที่มีคุณภาพ การดําเนินการเผยแพร่วารสารด้วยการ พิมพ์เผยแพร่
5. กองบรรณาธิการเปิดรับบทความตลอดทั้งปีและจะพิจารณาตีพิมพ์ตามลําดับ โดย ผู้เขียนบทความต้องส่งต้นฉบับไปยังกองบรรณาธิการพิจารณาล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนที่ วารสารจะตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในเว็บไชด์
1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปรัชญา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่
3) บทความปริทรรศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ
กําหนดออกวารสารปีละ 3 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน
ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม
ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม
กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ